คัทบีม สำหรับงานโครงถักหลังคา ลักษณะ : หน้าตัดเป็นรูป ตัว T บางทีเรียกว่า T-Beam ส่วนคำว่า คัทบีม นั้นมีที่มาจาก กระบวนการผลิต โดยการนำ เอชบีม มา “ตัด” ครึ่งตรงส่วนแกนกลางที่เรียกว่า “เอว” (web) ก็จะได้ เหล็กที่มีหน้าตัดเฉพาะตัว เมื่อเลือกนำมาใช้งานในแนวทางของสถาปัตยกรรม จะได้เส้นสายที่สบายตา กว่าเหล็กหน้าตัดอื่น ๆ ในบางตำแหน่ง เพราะจะเห็นแค่ส่วนเอวเป็นเส้นเล็กๆ ตามแนวโครงสร้างของอาคาร การใช้งาน : ในทางวิศวกรรมนิยมใช้ทำโครงถักของส่วนต่าง ๆ เช่น หลังคา หรือ ช่วงพาดยาว ในงานสถาปัตยกรรมนิยมใช้เป็นคานโครงสร้างรองรับพื้นอาคาร หรือสามารถนำมาใช้เป็นคานของส่วนยื่นที่ไม่ได้รับน้ำหนักมากก็ได้ เช่น กันสาดหน้าต่างขนาดเล็ก เป็นต้น คัทบีม สำหรับงานโครงถักหลังคา Tip : Cellular Beam นอกจากการนำ เอช-บีม มาตัดออกเพื่อเป็น คัท-บีม แล้ว ยังมีอีกเทคนิคที่นำเหล็ก เอช-บีม มา “ตัด” และ “ต่อ” เพื่อให้ได้หน้าตัดเหล็กที่มีความลึกมากขึ้น(รับแรงได้มากขึ้น) แต่น้ำหนักเบาลง นั่นคือ Cellular Beam หรือ Castellated Beam ซึ่งจะทำการตัดเป็นรูปฟันปลา จากนั้นจึงนำมาเชื่อมกันโดยการยกและสไลด์ให้เหล็กส่วนยาวนั้นมาเชื่อมติดกัน ก็จะได้คานเหล็กที่มีช่องว่างรูปหกเหลี่ยมตลอดแนว ข้อมูลสินค้า SYS สินค้าแนะนำจาก SYS ดาวน์โหลดแคตตาล็อคมาตรฐานไทย ดาวน์โหลดแคตตาล็อคมาตรฐานสากล สนใจสั่งซื้อสินค้า ติดต่อร้านค้าผู้แทนจำหน่าย SYS